หลักสูตร การจัดทำโครงการอนุรักษ์การได้ยิน

            ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำโครงการอนุรักษ์การได้ยินในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2553 ที่ให้นายจ้างต้องจัดทำโครงการอนุรักษ์การได้ยินในสถานประกอบกิจการเป็นลาย ลักษณ์อักษร กรณีที่สภาวะการทำงานในสถานประกอบกิจการมีระดับเสียงที่ลูกจ้างได้รับเฉลี่ย ตลอดระยะเวลาการทำงาน 8 ชั่วโมงตั้งแต่ 85 เดซิเบลเอขึ้นไป เพื่อแก้ไขปัญหาเสียงดังและลดอันตรายและผลกระทบที่จะมีต่อพนักงานและสภาพแวดล้อมภายในสถานประกอบการประกาศกรมฯ นี้ยังได้มีการกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับสิ่งที่ต้องจัดทำ ไม่ว่าจะเป็นนโยบายอนุรักษ์การได้ยิน การเฝ้าระวังเสียงดัง การเฝ้าระวังการได้ยิน หน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ที่เกี่ยวข้อง ที่สถานประกอบการต้องจัดทำโดยรายละเอียดที่ค่อนข้างมากและเป็นเทคนิคหรือวิธีการเฉพาะทำให้ผู้รับผิด ชอบจัดทำโครงการฯ อาจเกิดความไม่เข้าใจถึงวัตถุประสงค์ เป้าหมายและวิธีการที่ประกาศกรมฯ กำหนดขึ้น ทั้งยังต้องจัดหามาตรการควบคุมเสียงดังที่จะเหมาะสมกับสถานประกอบการหรือโรง งานของตัวเองอีก จึงจัดอบรมหลักสูตรอบรมและสัมมนา เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำโครงการอนุรักษ์การได้ยินในสถานประกอบการ (ตามกฎหมาย) นี้ขึ้นเพื่อให้ผู้รับผิดชอบมีความรู้ และเข้าใจ สามารถนำเนื้อหาและรายละเอียดไปจัดทำโครงการอนุรักษ์การได้ยิน และมาตรการควบคุมเสียงดังได้อย่างถูกตรง ตรงตามที่กฎหมายกำหนด 


วัตถุประสงค์:

   1.  เพื่อให้ทราบถึงหลักเกณฑ์และวิธีการในการจัดทำโครงการอนุรักษ์การได้ยิน ตามที่กฎหมายกำหนด

   2.  เพื่อให้สามารถจัดทำโครงการอนุรักษ์การได้ยินได้อย่างถูกวิธี

   3.  นำมาตรการป้องกันอันตรายเกี่ยวกับเสียงที่เหมาะสมไปใช้ในโรงงานเพื่อลดผลกระทบของเสียงได้


หัวข้อการสัมมนา:

  • กฎหมายและมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง
  • ความรู้เกี่ยวกับเสียง กายวิภาคศาสตร์ของหู และกลไกการได้ยิน
  • หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำโครงการอนุรักษ์การได้ยิน
  • องค์ประกอบหลักของโครงการอนุรักษ์การได้ยิน
  • การจัดนโยบายการอนุรักษ์การได้ยิน และกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบการเฝ้าระวังการได้ยิน
  • การทดสอบสมรรถภาพการได้ยิน (Audiometric Testing)
  • เกณฑ์การพิจารณาผลการทดสอบสมรรถภาพการได้ยิน
  • มาตรการป้องกันอันตรายตามกฎหมายกรณีผลการทดสอบสมรรถภาพการได้ยินพบว่าลูกจ้างสูญเสียการได้ยิน
  • ตัวอย่างโครงการอนุรักษ์การได้ยิน และแบบบันทึกผลการตรวจสอบ ต่างๆ     
  • การเฝ้าระวังเสียงดัง
  • การสำรวจและตรวจวัดระดับเสียง
  • การประเมินการสัมผัสเสียงดัง
  • หลักการควบคุมเสียงดัง
  • มาตรการด้านวิศวกรรมในการจัดการเกี่ยวกับเสียง


**หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับ**

·      ผู้จัดการฝ่ายอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

·      ผู้จัดการฝ่ายสิ่งแวดล้อม

·      เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานทุกระดับ

·      พนักงานที่ปฏิบัติงานทั่วไป 

·      ผู้สนใจการจัดทำโครงการอนุรักษ์การได้ยินทุกท่าน

รูปแบบการสัมมนา:

  • บรรยาย                                                                                    
  • เกม / กิจกรรมกลุ่ม / ฝึกปฏิบัติ Workshop และการนำเสนอผลงานกลุ่ม  
Visitors: 107,229