หลักสูตร การควบคุมกระบวนการโดยใช้เทคนิคทางสถิติและการวิเคราะห์ขีดความสามารถของกระบวนการ (SPC)
การวิเคราะห์ขีดความสามารถของกระบวนการคือเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยให้การควบคุมคุณภาพกระบวนการผลิตเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยในการวิเคราะห์ขีดความสามารถของกระบวนการนั้น ผู้ที่ทำการวิเคราะห์จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้สถิติ
ปัญหาประการนึงที่มักจะพบเจอในหลายๆองค์กรคือการขาดบุคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการวิเคราะห์ขีดความสามารถของกระบวนการ (Process Capability Analysis) จึงมักส่งผลให้เกิดความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับการหาค่า Cpk, ค่า Ppk บางครั้งจะพบว่าค่าที่คำนวณได้ ไม่สะท้อนให้เห็นถึงความสามารถที่แท้จริงของกระบวนการหรือปัญหาที่พบบ่อยคือการที่พยายามจะวิเคราะห์ค่าขีดความสามารถของกระบวนการที่ยังไม่ได้ทาการลดความแปรปรวนของกระบวนการ ฯ
หลักสูตรนี้จึงได้พัฒนาขึ้นเพื่อให้องค์กรได้มีการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการวิเคราะห์ขีดความสามารถของกระบวนการ เพื่อให้เกิดการพัฒนาประสิทธิภาพกระบวนการผลิตและลดของเสียที่เกิดขึ้น
วัตถุประสงค์การเรียนรู้ :
1. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจในแนวคิด หลักการ และความสำคัญของการวิเคราะห์ความสามารถของกระบวนการ
2. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถวิเคราะห์ข้อมูลและลดความแปรปรวนของกระบวนการ
3. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถใช้งานเครื่องมือทางการวิเคราะห์ขีดความสามารถของกระบวนการได้อย่างแท้จริง
4. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม1ได้เข้าใจถึงการตีความ ค่าความสามารถของกระบวนการ
5. เพื่อลดความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากความแปรปรวนของกระบวนการ
หัวข้อการสัมมนา :
วันที่ 1 (09.00 - 16.00 น.)
แนวคิดและวิวัฒนาการของสถิติ
พื้นฐานสถิติเพื่อการควบคุมกระบวนการ
แนวคิดการศึกษา การวิเคราะห์ขีดความสามรถของกระบวนการ
เทคนิคการควบคุมกระบวนการด้วย Control Chart ประเภทต่างๆ
วันที่ 2 (09.00 - 16.00 น.)
เทคนิคการตีความและการวิเคราะห์ Control chart
การคำนวณ ค่าความสามารถของกระบวนการ (Cp,Cpk, Pp, Ppk)
ความผิดพลาดและความเข้าใจผิดของการตีความค่าความสามารถของกระบวนการ
เทคนิคการลดความแปรปรวนของกระบวนการ
การใช้โปรแกรมทางสถิติ ในการวิเคราะห์ผล
รูปแบบการสอน :
เน้นให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมปฏิบัติจริง ได้ทดลองปฏิบัติจริง
หลักสูตรเหมาะสำหรับ :
พนักงาน, หัวหน้างาน, ผู้บริหาร, คณะทำงาน TS ,และผู้สนใจทั่วไป
ระยะเวลาในการอบรม :
2 วัน (09.00 – 16.00 น.)